วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สิทธิมนุษยชน (Human Right)

สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
                1.  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ  อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความหมายของวัฒนธรรม 

           วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา  กฎหมาย  ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
เนื้อหาของวัฒนธรรม
         1.  วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
         2.  วัฒนธรรมมีลักษณะเป็นสิ่งเหนืออินทรีย์ (superorganic)
         3.  วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม
         4. วัฒนธรรมเป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิต
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
        วัฒนธรรมเป็นผลจากการที่มนุษย์ได้เข้าควบคุมธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดการจัดระเบียบทางสังคม  ระบบความเชื่อ ศิลปกรรม
ค่านิยมและวิทยาการต่าง ๆ อาจแยก องค์ประกอบของวัฒนธรรมได้เป็น 4 ประการ
        1.  องค์มติ (concept)  บรรดาความคิด ความเชื่อ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ตลอดจนอุดมการณ์ต่าง ๆ
        2.  องค์พิธีการ (usage) หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกในรูปพิธีกรรม
        3.  องค์การ (organization) หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดอย่างเป็นระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ มีการวางกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับและวัตถุประสงค์ไว้อย่างแน่นอน
       4.  องค์วัตถุ (instrumental and symbolic objects) ได้แก่ วัฒนธรรมทาง วัตถุทั้งหลาย เช่น บ้าน โบสถ์ วิหาร รวมตลอดถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ 
 อ่านเพิ่มเติม


วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมและประเพณีไทย

ภาคใต้

   ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาโดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก  เพิ่มเติม>>





ภาคกลาง
   ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ในเทศกาลออกพรรษา ตำนานของประเพณี รับบัวตำนานหนึ่งเล่าว่า ในสมัยก่อนนั้นอำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงมาก เมื่อถึงช่วงออกพรรษา ชาวบ้านที่อยู่ใกล้อำเภอบางพลี โดยเฉพาะที่อำเภอ เมือง และอำเภอพระประแดง จะเดินทางไปเก็บดอกบัว ที่อำเภอบางพลี เพื่อนำมาประกอบพิธีทำบุญในวันออก
พรรษา ต่อมาชาวบางพลีเป็นผู้เก็บดอกบัวไว้แจกให้ ชาวบ้านต่างถิ่น เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน  เพิ่มเติม>>








ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า "บุญเดือนหก" มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ "พระยาแถน" สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี  เพิ่มเติม>>










ภาคเหนือ
       ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า
"ชาวล้านนา"มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย เพิ่มเติม>>